อันตรายจากรถโฟล์คลิฟท์

5 อันตรายจากรถโฟล์คลิฟท์ที่ผู้ใช้งานควรระวัง

                รถโฟล์คลิฟท์คือเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และยังสามารถบรรทุกสิ่งของได้ครั้งละจำนวนมาก มีประโยชน์ต่องานจัดสต็อกสินค้าในโกดังไปจนถึงงานยกสิ่งของในวงการอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน จนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ร่วมงานรอบข้างหากประมาท หรือใช้งานโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นบางครั้งก็ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สิน และในบางครั้งก็รุนแรงถึงชีวิต โดยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากประมาทและขาดความรู้มีดังต่อไปนี้ 5 อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเสียจากการใช้รถโฟล์คลิฟท์                 อุบัติเหตุจากการใช้รถโฟล์คลิฟท์มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความประมาท และรองลงมาคือการใช้งานอย่างไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะมั่นใจว่าใช้งานมานานจนมีความคุ้นเคยและมีความชำนาญแล้ว จึงมักจะคิดไปเองว่ารถสามารถทำงานได้หนักกว่าพิกัดน้ำหนักที่ได้กำหนดไว้ จนนำมาซึ่งอุบัติเหตุอันคาดไม่ถึงดังนี้ 1. ใช้งานยกสินค้าสูงเกินไป                 รถโฟล์คลิฟท์แต่ละรุ่นจะมีการกำหนดความสูงและพิกัดน้ำหนักของตัวยกอย่างชัดเจน ในขณะที่รถที่ซื้อมาใหม่อาจมีความเป็นไปได้ว่าสามารถยกได้สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ เพราะความใหม่และความแข็งแรงของตัวรถที่ยังไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน จึงทำให้ผู้ใช้งานอาจเข้าใจผิดคิดว่ารถสามารถยกได้สูงกว่าที่กำหนดเอาไว้ เป็นเหตุให้สินค้ามีโอกาสที่จะหล่นมาใส่ผู้ขับขี่จนได้รับบาดเจ็บ และสินค้าอาจจะกระเด็นไปโดนผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย 2. โหลดสินค้าไม่สมดุล                 ในการโหลดสินค้าใส่งาของรถในแต่ละครั้ง ผู้โหลดสินค้าควรมีความรู้ด้านการจัดสมดุลน้ำหนักของสินค้า เนื่องจากสินค้าที่ไม่ได้รับการจัดสมดุล เมื่อรถขับออกไปแล้วและผู้ขับใช้ความเร็วในการขับขี่ ทำให้มีโอกาสที่รถจะพลิกคว่ำ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ขับขี่และผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง 3. ขึ้นไปยืนบนงาของโฟล์คลิฟท์                 หลายหน่วยงานที่ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ พนักงานมักจะขึ้นไปยืนบนงาของรถ เพื่อจับหรือประคองสินค้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงและเป็นอันตรายต่อตัวพนักงานเอง หากรถเกิดเสียหลักหรืองาของรถรับน้ำหนักไม่ไหว ผู้ที่ยืนอยู่บนงามีโอกาสที่จะตกมาจากที่สูงจนได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นหากต้องการยึดสินค้าให้อยู่บนงาควรใช้อุปกรณ์สำหรับรัดสินค้าแทนการขึ้นไปยืนบนงาเพื่อจับสินค้า 4. อุบัติเหตุรถทับหรือชนผู้ร่วมงาน                 การโหลดสินค้าสูงเกินไปและการจัดเส้นทางเดินรถที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ขับขี่เสียวิสัยทัศน์ในการมองเห็น หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุจนทำให้พนักงานต้องเสียชีวิต เพราะผู้ขับขี่มองไม่เห็นเพื่อนร่วมงานที่เดินอยู่ข้างหน้า หรือบางครั้งพนักงานก็เผลอเดินมาบนเส้นทางเดินรถด้วยความไม่ระวัง ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์กรควรจัดเส้นทางการเดินรถให้ชัดเจน […]